การอนุรักษ์ศิลปะไทย

ศิลปะ

ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทำให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรอลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทยและศิลปะไทยยังตัดเส้นด้วยสีดำและสีน้ำตาลเท่านั้น

ปัจจุบันคำว่า “ศิลปะไทย” กำลังจะถูกลืมเมื่ออิทธิพลทางเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่สังคมเก่าของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกแห่งการสื่อสารได้ก้าวไปล้ำยุคมาก จนเกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยอดีต โลกใหม่ยุคปัจจุบันทำให้คนไทยมีความคิดห่างไกลตัวเองมากขึ้น และอิทธิพลดังกล่าวนี้ทำให้คนไทยลืมตัวเราเองมากขึ้นจนกลายเป็นสิ่งสับสนอยู่กับสังคมใหม่อย่างไม่รู้ตัว มีความวุ่นวายด้วยอำนาจแห่งวัฒนธรรมสื่อสารที่รีบเร่งรวดเร็วจนลืมความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

การอนุรักษ์ศิลปะไทย

คำว่า “การอนุรักษ์” ตามพจนานุกรม หมายถึง การรักษาให้คงเดิม ดังนั้น การอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย จึงหมายถึง การรักษาศิลปกรรมที่สร้างขึ้นบนผืนแผ่นดินไทย อันเป็นวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่เป็นมรดกของชนรุ่นหลังต่อไป โดยศึกษาถึงสาเหตุและการเสื่อมสลายและหาแนวทางเพื่อการอนุรักษ์ให้ศิลปะไทยดำรงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้

สาเหตุของการเสื่อมสลายของศิลปะไทย

1. การเสื่อมสลายจากกาลเวลา

2. การเสื่อมสลายจากการกระทำของคน

– การทำลายศิลปกรรมโดยการกระทำของคนในอดีต

– การทำลายจากความเห็นแก่ตัว

– การทำลายจากความไม่รู้

– การทำลายโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการบำรุงรักษา

3. การเสื่อมสลายจากการกระทำของสัตว์และพืช

4. การเสื่อมสลายจากการกระทำของธรรมชาติ

5. การเสื่อมสลายจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

แนวทางการอนุรักษ์ศิลปะไทย

ศิลปะเป็นผลผลิตของชาติที่มีคุณค่าในตัวเองจึงควรที่จะมีการบำรุงรักษามิให้เสื่อมสลายและสืบทอดให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ชนรุ่นหลัง เป็นการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ของชาติไว้ให้คนรุ่นหลัง จึงมีแนวทางในการอนุรักษ์ศิลปะที่พึงปฏิบัติดังนี้

– การออกกฎหมายคุ้มครอง ศิลปกรรมและโบราณวัตถุสถาน อันเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมของชาติ จึงควรมีกฎหมายคุ้มครอง

– การตั้งหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา เนื่องจากงานศิลปกรรมแต่ละประเภท นั้นมีความแตกต่างกันการดูแลรักษาจึงต้องเลือกใช้วิธีการที่ถูกต้อง

– การสงวนรักษาและซ่อมบำรุง โดยการรักษาของเก่าไว้ให้ได้มากที่สุดไม่ใช่การ ทำขึ้นใหม่

– การจำลองแบบ ในกรณีที่ศิลปกรรมนั้นอาจถูกทำลายหรือสูญสลายโดยที่ไม่สามารถ ป้องกันได้ก็ควรจะเก็บข้อมูลด้วยการบันทึก การถ่ายภาพ รวมทั้งการจำลองแบบขึ้นให้มีความใกล้เคียง กับของเดิมมากที่สุด

– การการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน เพื่อเป็นที่รวบรวมตัวอย่างศิลปกรรมที่มีคุณค่าเพื่อ การศึกษาเปรียบเทียบ และเผยแพร่คุณค่าของศิลปกรรม

– การจัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อน เป็นการสร้างความสำคัญทำให้ผู้คนใน ท้องถิ่นเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญที่จะอนุรักษ์โบราณสถาน

– การการเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของศิลปกรรม แก่ประชาชนเพื่อให้เกิดความซาบซึ้งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปกรรมของชาติ